ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและมลพิษ สำหรับการควบคุมปัญหากลิ่นเหม็นจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ มีกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องในด้านมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งสารมลพิษจากแหล่งกำเนิดและกฎเกณฑ์ในการควบคุมสิ่งที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ดังนี้

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ให้อำนาจกรมควบคุมมลพิษใน การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมในแต่ละด้าน รวมทั้งมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ควรเป็นเครื่องชี้มาตรฐานคุณภาพอากาศที่แท้จริงในแต่ละเขตแล้วสะท้อนไปสู่มาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดที่ต้องสอดคล้องมาตรฐานคุณภาพอากาศที่เป็นเสมือนเพดานดังกล่าว รวมทั้งมีอำนาจในการปรับหรือเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ก่อมลพิษได้

พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ให้อำนาจกรมโรงงานอุตสาหกรรมในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษทางอากาศ ดังนี้

  • กำหนดมาตรฐานและวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน
  • กำหนดข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับการประกอบกิจการโรงงานที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งให้ทราบเป็นครั้งคราวหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
  • และยังมีประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 4 ( ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ . ศ . 2514) กำหนดให้โรงงานต้องกำจัดกลิ่น เสียง ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่า เถ้าถ่านที่เกิดจากการประกอบกิจการมิให้เป็นที่เดือดร้อนหรืออาจเป็นอันตรายต่อผู้อาศัยใกล้เคียง

พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมลพิษอากาศในแง่มุมของการกระทำให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ จำนวน 3 มาตรา ได้แก่ มาตรา 25 กำหนดลักษณะกิจการหรือการกระทำที่ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ ซึ่งรวมถึงการกระทำใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (มาตรา 25(4)) มาตรา 26 และมาตรา 27 ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสามารถมีดุลพินิจที่จะชี้ว่าการกระทำใดเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ และสามารถใช้อำนาจทางบริหารห้ามมิให้มีการก่อเหตุรำคาญ หรือให้ระงับป้องกันเหตุรำคาญนั้นเสีย

อย่างไรก็ดีเหตุเดือดร้อนรำคาญนี้ โดยลักษณะตามธรรมชาติของปัญหาจะเป็นกรณีที่มีสิ่งรบกวนเกิดขึ้นมาก่อน แล้วจึงค่อยมาพิจารณาว่าสิ่งรบกวนนั้นเป็นเหตุเดือดร้อนรำคาญที่ต้องห้ามหรือไม่ ดังนั้นจึงไม่อยู่ในวิสัยที่สามารถออกมาตรฐานมาควบคุม ป้องกันเอาไว้ก่อนได้ ขณะที่การควบคุมมลพิษอากาศด้านกลิ่นจากโรงงานอุตสาหกรรมนั้นสามารถควบคุมป้องกันได้โดยตรง โดยกำหนดเป็นมาตรฐานในการกำจัด และจัดการของเสียที่มีสารก่อกลิ่นให้ถูกวิธี

แต่ถ้าหากเกิดข้อร้องเรียนที่ยังเป็นปัญหาว่ากิจการนั้น ๆ ได้ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญด้านกลิ่นหรือไม่ก็จำเป็นต้องหามาตรการตรวจวัดกลิ่นเพื่อตัดสินว่าจะต้องมีการแก้ปัญหาเพิ่มเติมอย่างไร หากปัญหาความขัดแย้ง หรือการร้องเรียนนั้นอยู่ในระดับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารปกครองกรม หรือกระทรวงที่ดูแลอยู่ก็ สามารถหามาตรการในการตรวจวัดที่เหมาะสมมาพิจารณา โดยอาจตั้งเป็นคณะกรรมการพิสูจน์กลิ่น หรือพนักงาน เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจของตนเอง หรือโดยอาศัยความเห็นจากประชาชนในบริเวณที่เกิดเหตุ

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองแรงงานที่ทำงานภายในโรงงาน โดยกำหนดให้สถานประกอบการต้องดำเนินการเพื่อให้คุณภาพอากาศในสถานประกอบการมีความปลอดภัยต่อคนงาน

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม ( สารเคมี ) ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2520 โดยได้กำหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยสำหรับลูกจ้าง โดยกำหนดค่าความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศของการทำงานไม่ให้เกินค่าที่กำหนด และหากมีค่าสารเคมีหรือฝุ่นแร่กระจายสู่บรรยากาศของการทำงานเกินกว่ากำหนดต้องปรับปรุงแก้ไข

เมื่อพิจารณาประเภทแหล่งที่มาของปัญหามลพิษพบว่า โรงงานอุตสาหกรรมเป็นแหล่งที่มาสำคัญของปัญหามลพิษ ทั้งปัญหากลิ่นเหม็น ฝุ่นละออง เขม่าควัน เสียงดัง และเสียงรบกวน คิดเป็นร้อยละ 56 โดยส่วนใหญ่เกิดจากการประกอบกิจการประเภทการผลิตอาหารและเครื่องปรุง เฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับ เคมีภัณฑ์และถ่านหิน รถยนต์ พลาสติกโฟม อุตสาหกรรมเหล็ก สำหรับพื้นที่ที่มีการร้องเรียนส่วนใหญ่ คือ กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล คิดเป็นร้อยละ 62 จากการดำเนินงานที่ผ่านมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้มีการร่วมมือกับสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนด้านมลพิษ รวมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ผลดำเนินการแก้ไขปัญหาในปี 2556-2557 ที่สำเร็จลุล่วง คิดเป็นร้อยละ 97 และ 95 ตามลำดับ

สำหรับศูนย์รับแจ้งเรื่องร้องเรียนของ คพ.สามารถแจ้งเรื่องเรื่องเรียนผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ โทรศัพท์ เว็บไซต์ของกรมควบคุมมลพิษ จดหมาย แจ้งด้วยตนเอง และศูนย์บริการร่วมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่ออำนวยความสะดวกต่อประชาชนในการเสนอเรื่องร้องเรียนจากปัญหามลพิษต่างๆ

ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและมลพิษเป็นสิ่งสำคัญจะเห็นได้ชัดว่าประเทศไทยให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหานี้มาเป็นเวลานาน เราทุกคนควรช่วยกันให้ปัญหาราวนี้หมดไปไม่ใช่เพื่อตัวท่านเองแต่เพื่อลูกเพื่อหลานของท่านที่จะเกิดมาพบเจอกับอากาศที่บริสุทธิ์ปราศจากมลพิษทั้งหลาย

สนใจสินค้าสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

สินค้าพร้อมจัดส่งทั่วประเทศ จำหน่ายทั้งปลีกและส่ง เจ้าเดียวในประเทศไทยและเอเชีย ที่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา การันตีของแท้ 100%

เข้าชมสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ https://www.microblaze-thailand.com/shop

ติดตามร้าน ไมโครเบลส ไทยแลนด์ / สั่งซื้อผ่าน SHOPEE : https://1th.me/PBHBx

ติดตามร้าน ไมโครเบลส ไทยแลนด์ / สั่งซื้อผ่าน LAZADA : https://1th.me/IQU1u

1 Comments

  1. จุลินทรีย์ชีวภาพ : สูตรแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ
    ใช้ในการบำบัดทางชีวภาพ ระบบสครับเบอร์ (Scrubber) ดับกลิ่นเหม็น บำบัดกลิ่น บำบัดบำบัดก๊าซเสีย มลพิษ
    ไอกรด ไอสารเคมี ที่เกิดจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมเคมี อาหาร ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ยาง เยื่อกระดาษ และปศุสัตว์
    การเก็บรักษา : มีอายุ เก็บรักษา 3-5 ปี และ เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทที่อุณหภูมิห้อง
    อัตราส่วนการใช้งาน : น้ำยา 1 ส่วน ต่อน้ำ 99-999 ส่วน ขึ้นอยู่กับการใช้งาน

    สินค้าไม่มีส่วนผสมของสารเคมี ปลอดภัยต่อชีวิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    Micro-Blaze microbial products Environmentally Friendly

Leave A Reply