ระบบบำบัดน้ำเสียจากอาคารบางประเภทบางขนาด น้ำเสียจากอาคาร เป็นน้ำเสียที่เกิดจากการใช้น้ำในการอุปโภค บริโภคของผู้ที่อยู่ภายในอาคาร เช่น การขับถ่าย การประกอบอาหาร การซักล้าง เป็นต้น

สิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียจากกิจกรรมต่างๆ ในอาคาร อาจประกอบไปด้วย ของแข็ง สารเคมี สารอินทรีย์ หรือจุลินทรีย์ก่อโรค ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทั้งต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นที่จะต้องควบคุมน้ำเสียไม่ให้เกินค่ามาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด

อาคารประเภท ก และ ข ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นอาคารที่มีขนาดใหญ่ เช่น อาคารชุดที่มีจำนวน 500 ห้องขึ้นไป โรงพยาบาลที่มีจำนวนเตียงผู้ป่วย
ตั้งแต่ 30 เตียงขึ้นไป สถานศึกษาที่มีพื้นที่ใช้สอย 25,000 ตารางเมตรขึ้นไป เป็นต้น ทำให้มีปริมาณและความสกปรกของน้ำเสียสูงกว่าน้ำเสียจากบ้านเรือนและน้ำเสียทั่วไป

นํ้าทิ้งจากอาคารที่จะระบายจากอาคารลงสู่แหล่งรองรับนํ้าทิ้งได้ต้องมีคุณภาพนํ้าทิ้งตามประเภทของอาคาร ตามมาตรฐานคุณภาพนํ้าทิ้ง ดังต่อไปนี้

ระบบบำบัดน้ำเสียจากอาคารบางประเภทบางขนาด

หมายเหตุ: *เป็นค่าที่เพิ่มขึ้นจากปริมาณสารละลายในน้ำตามปกติ
ที่มา : http://www.pcd.go.th/info_serv/reg_std_water04.html

โดยทั่วไปแล้วระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากอาคาร มีทั้งการบำบัดทางกายภาพ และชีวภาพ ซึ่งได้แก่ บ่อดักไขมัน ระบบแอกติเวเต็ดสลัดจ์, ระบบเอสบีอาร์ และถังกรองไร้อากาศ เป็นต้น

การบำบัดทางกายภาพ
1.ตะแกรง มีสำหรับดักจับเศษขยะที่มีขนาดใหญ่ ไม่ละลายน้ำออกจากน้ำเสีย เช่น เศษไม้ เศษกระดาษ เศษพลาสติก เป็นต้น มีส่วนช่วยเสริมประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย และป้องกันความเสียหายที่มีต่อเครื่องจักรกลต่างๆ ในระบบบำบัด ตะแกรงมีอยู่ 2 แบบ คือ ตะแกรงหยาบ ซึ่งมีช่องว่างระหว่างแท่งเหล็กตั้งแต่ 25 มม.ขึ้นไป และตะแกรงละเอียด มีช่องว่างระหว่าง 2 ถึง 6 มม.
2. บ่อดักไขมัน เป็นอุปกรณ์สำหรับแยกไขมันไม่ให้ไหลปนไปกับน้ำทิ้ง เป็นการช่วยรักษาสภาพน้ำในขั้นต้น ก่อนปล่อยไปยังระบบบำบัดขั้นถัดไป ถังดักไขมันประกอบด้วย ส่วนกักเก็บน้ำเพื่อให้น้ำมัน
และไขมันลอยตัวขึ้นบนผิวน้ำ เพื่อให้สามารถทำการดักน้ำมัน และไขมันออกไปทำลาย โดยมีหลักการทำงานคือ ให้น้ำเสียไหลผ่านตะแกรงดักเศษอาหาร ซึ่งทำหน้าที่แยกเศษอาหาร แล้วน้ำเสียจะไหลต่อไปยังส่วนดักไขมัน โดยน้ำมันและไขมัน ที่แยกตัวออกจากน้ำเสีย จะลอยขึ้นเป็นชั้นเหนือผิวน้ำ ซึ่งเราต้องช้อนตักน้ำมันและไขมันส่วนนี้ออกไปทิ้ง ส่วนน้ำที่อยู่ใต้ชั้นไขมันจะไหลสู่ท่อระบายน้ำทิ้ง

ระบบบำบัดน้ำเสียจากอาคารบางประเภทบางขนาด

แบบจำลองโครงสร้างภายในของบ่อดักไขมัน
ที่มา: http://www.punwaplus.com/


การบำบัดทางชีวภาพ

การบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

1.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศ

1.1 ระบบแอกติเวเต็ดสลัดจ์ (Activated sludge system)

เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสีย ด้วยวิธีการทางชีววิทยาด้วยแบคทีเรียที่ใช้ออกซิเจน โดยระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ถังเติมอากาศ และถังตกตะกอน สภาวะภายในของถังเติมอากาศจะเหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ จุลินทรีย์เหล่านี้จะทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ทำให้ความสกปรกในน้ำลดลง จากนั้นน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจะไหลผ่านไปที่ถังตกตะกอนเพื่อแยกแบคทีเรียออกจากน้ำเสีย ก่อนจะระบายน้ำเสียทิ้งลงสู่แหล่งน้ำได้ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกติเวเต็ดสลัดจ์ เหมาะสำหรับบำบัดน้ำเสียที่มีค่าบีโอดี ซีโอดี และ ปริมาณของแข็งแขวนลอยสูง โดยสามารถแบ่งได้เป็น 4 แบบได้ดังนี้

1) ระบบแอกติเวเต็ดสลัดจ์แบบกวนสมบูรณ์ (Completely Mixed Activated Sludge, CMAS) มีลักษณะสำคัญคือ จะต้องมีถังเติมอากาศที่สามารถกวนให้น้ำ และสลัดจ์ที่อยู่ในถังผสม เป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั่วทั้งถัง และมีการเวียนตะกอนจากถังตกตะกอนย้อนกลับมาที่ถังเติมอากาศ เพื่อเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในการย่อยสลายสารอินทรีย์  

ระบบบำบัดน้ำเสียจากอาคารบางประเภทบางขนาด

แบบจำลองระบบแอกติเวเต็ดสลัดจ์แบบกวนสมบูรณ์

2) ระบบแอกติเวเต็ดสลัดจ์แบบปรับสเถียรสัมผัส (Contact Stabilization Activated Sludge, CSAS) ลักษณะสำคัญ คือ แบ่งถังเติมอากาศออกเป็น 2 ถังอิสระจากกัน ได้แก่ ถังสัมผัส และถังย่อยสลาย โดยตะกอนที่สูบมาจากก้นถังตกตะกอน จะถูกส่งมาเติมอากาศอีกครั้งในถังย่อยสลาย จากนั้นตะกอนจะถูกส่งมาสัมผัสกับน้ำเสียในถังสัมผัส เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียในถังสัมผัสนี้ความเข้มข้นของสลัดจ์จะลดลงตามปริมาณน้ำเสียที่ผสมเข้ามาใหม่ น้ำเสียที่ถูกบำบัดแล้วจะไหลไปยังถังตกตะกอน เพื่อแยกส่วนตะกอนกับส่วนน้ำในถังต่อไป

ระบบบำบัดน้ำเสียจากอาคารบางประเภทบางขนาด

แบบจำลองระบบแอกติเวเต็ดสลัดจ์แบบปรับสเถียรสัมผัส


3) ระบบคลองวนเวียน (Oxidation Ditch, OD) ลักษณะของถังเติมอากาศจะเป็นวงกลมหรือวงรี น้ำเสียเข้าระบบแล้วจะไหลเวียนตามแนวยาวของถังเติมอากาศ และการกวนจะใช้เครื่องกลเติมอากาศ ซึ่งตีน้ำในแนวนอน ค่าความเข้มข้นของออกซิเจนละลายน้ำในถังเติมอากาศจะลดลงเรื่อยๆ ตามความยาวของถัง จนกระทั่งมีค่าเป็นศูนย์ เรียกว่าเขต แอน็อกซิก (Anoxic Zone) ซึ่งสภาวะเช่นนี้ทำให้เกิดไนตริฟิเคชั่น (Nitrification) และดีไนตริฟิเคชั่น (Denitrification) ขึ้นในถังเดียวกัน ทำให้ระบบสามารถบำบัดไนโตรเจนได้ดีขึ้นด้วย

ระบบบำบัดน้ำเสียจากอาคารบางประเภทบางขนาด

แบบจำลองระบบคลองวนเวียน

4) ระบบเอสบีอาร์ (Sequencing Batch Reactor, SBR) เป็นระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็ก และน้ำเสียไหลเข้าระบบเป็นบางช่วง การใช้ระบบบำบัดน้ำเสียนี้จำเป็นต้องมีบ่อเก็บกักน้ำเสียซึ่งทำหน้าที่ทั้งการเติมอากาศ เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ และทำหน้าที่แยกสลัดจ์ ด้วยการตกตะกอนภายในถังปฏิกิริยาเดียวกันโดยขั้นตอนการทำงานของระบบบำบัด จะแบ่งเป็นช่วง โดยจะปล่อยให้น้ำเสียไหลเข้าถังทำปฏิกิริยากับจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในถังแล้วและเติมอากาศอยู่ เพื่อเป็นการลดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย เมื่อเติมอากาศถึงเวลาที่กำหนด จะหยุดเติมอากาศ เพื่อทิ้งให้ตกตะกอนซึ่งจะได้น้ำใสส่วนบนที่สามารถปล่อยทิ้งออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้ เป็นการเสร็จสิ้นกระบวนการบำบัด

ระบบบำบัดน้ำเสียจากอาคารบางประเภทบางขนาด

แบบจำลองระบบเอสบีอาร์

1.2 ระบบสระเติมอากาศ (Aerated Lagoon, AL)

เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยการเติมออกซิเจนจากเครื่องเติมอากาศ (Aerator) ที่ติดตั้งแบบทุ่นลอย หรือยึดติดกับแท่นก็ได้ เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำให้มีปริมาณเพียงพอ โดยระบบนี้ มีค่าลงทุนในการก่อสร้างต่ำ สามารถเพิ่มภาระมลพิษอย่างกระทันหันได้ดี (Shock Load) กากตะกอน และกลิ่นเหม็นเกิดขึ้นน้อย บำรุงรักษาง่าย แต่มีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่ากระแสไฟฟ้าและค่าซ่อมบำรุง ของเครื่องเติมอากาศ ระบบบ่อเติมอากาศเหมาะสำหรับน้ำเสียที่มีความสกปรกสูง สามารถบำบัดได้ทั้ง น้ำเสียชุมชนและน้ำเสียโรงงานอุตสาหกรรม

1.3 ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond)

เป็นระบบบำบัดน้ำเสีย ที่อาศัยธรรมชาติในการบำบัดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ซึ่งแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ 3 รูปแบบ คือ บ่อแอนแอโรบิค (Anaerobic Pond) บ่อแฟคคัลเททีฟ (Facultative Pond) บ่อแอโรบิค (Aerobic Pond) และหากมีหลายบ่อต่อเนื่องกัน บ่อสุดท้ายจะทำหน้าที่เป็นบ่อบ่ม (Maturation Pond) เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งก่อนระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม เหมาะสำหรับน้ำเสียที่มีปริมาณบีโอดีสูง สามารถบำบัดน้ำเสียชุมชน น้ำเสียจากเกษตรกรรม และน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทได้ เป็นระบบที่มีค่าก่อสร้างและค่าดูแลรักษาต่ำ วิธีเดินระบบไม่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ต้องใช้พื้นที่ก่อสร้างมาก จึงเป็นระบบที่เหมาะกับชุมชนที่มีพื้นที่เพียงพอและราคาไม่แพง

ระบบบำบัดน้ำเสียจากอาคารบางประเภทบางขนาด

ที่มา: http://www.sri.cmu.ac.th/~srilocal/water/page_04b.htm

2. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ


2.1 ระบบถังกรองไร้อากาศ (Anaerobic Filter, AF) 

เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้จุลินทรีย์แบบไม่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยอาศัยการทำงานของจุลินทรีย์ที่ยึดเกาะกับตัวกลางที่บรรจุอยู่ในถัง ตัวกลางที่ใช้กันมีหลายชนิด
เช่น หิน หลอดพลาสติก ลูกบอลพลาสติก กรงพลาสติก และวัสดุโปร่งอื่นๆ ตัวกลางเหล่านี้จะมีพื้นที่ผิวและช่องว่างสูงเพื่อให้จุลินทรีย์ยึดเกาะน้ำเสียจะไหลจากด้านล่างของถังแล้วไหลขึ้นผ่านชั้นตัวกลาง จากนั้นจึงไหลออกทางท่อด้านบน ขณะที่ไหลผ่านชั้นตัวกลาง จุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้อากาศ จะย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย เปลี่ยนสภาพให้กลายเป็นก๊าซกับน้ำทิ้งที่ไหลล้นออกไปจะมีค่าบีโอดีลดลง ระบบถังกรองไร้อากาศเป็นระบบที่สามารถรองรับความสกปรกของสารอินทรีย์ได้สูง ทนต่อความแปรปรวนของสารอินทรีย์ที่เข้ามาในระบบที่เพิ่มขึ้นได้ดี จึงเหมาะกับน้ำเสีย ที่มีความสกปรกสูง

ระบบบำบัดน้ำเสียจากอาคารบางประเภทบางขนาด

แบบจำลองระบบถังกรองไร้อากาศ

2.2 ระบบ Upflow Anaerobic Sludge Blanket (UASB) 

เป็นเทคโนโลยีชีวภาพแบบไร้ออกซิเจน ที่ได้ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูง และมีค่าใช้จ่ายในการเดินระบบต่ำ จึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้ทั้งการผลิตก๊าซชีวภาพและบำบัดน้ำเสียพร้อมกัน เหมาะกับน้ำเสียที่มีความสกปรกสูง

สินใจสินค้าสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ID LINE : 064-292-2934

หรือต้องการสั่งซื้อสินค้าผ่านหน้าเว็บ : https://www.microblaze-thailand.com/shop/

หรือหากท่านไม่สะดวกสั่งหน้าเว็บสามารถเลือกซื้อได้กับร้านค้าทางการใน Lazada และ Shopee ได้ตามลิ้งค์สินค้าทางด้านล่างได้เลย

Shopee Mell : https://shopee.co.th/microenvi?categoryId=2083&itemId=4271830063

Lazadad lazMall : https://www.lazada.co.th/shop/micro-blaze

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจากเว็บ : http://cac.pcd.go.th

2 Comments

  1. I need to to thank you for this good read!! I definitely loved every little bit of it. I have you book-marked to look at new things you postÖ

    • ที่ 1 เรื่องดับ
      กลิ่นเหม็น
      มาตรฐาน
      อเมริกา “

Leave A Reply